วันที่สี่ (ตอนที่ 3) ของ 25th JASPOC ว่าด้วย ASEANAPOL กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

    7 October 2015 The 4th day of the 25th Joint ASEAN Senior Police Officers Course (JASPOC)
     วันที่ 4 ของการฝึกอบรม (ตอนที่ 3) ทำความรู้จักกับ ASEANAPOL
     ในสิ้นปี 2558 เราจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น ลองมาดูกลไกความร่วมมือระหว่างตำรวจในประเทศสมาชิกอาเซียนกันสักหน่อยครับ
     หัวข้อ ASEANAPOL บรรยายโดยตำรวจหญิงอินโดนีเซีย คือ Police Senior Supt. Desy Andriani เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงกับ ASEANAPOL เพราะเธอทำหน้าที่ผู้อำนวยการด้านแผนและโครงการ ในสำนักงานเลขาธิการอาเซียนนาโพล ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 3 ปี

     🌐อาเซียนนาโพล คือ อะไร
     ASEANAPOL ย่อมาจาก “ASEAN NATIONAL POLICE” เป็นการรวมตัวของตำรวจในประเทศอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงความร่วมมือในระดับภูมิภาคในการป้องกันและต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ อาเซียนนาโพล ไม่ได้อยู่ภายใต้กลไกของ ASEAN ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ แต่อย่างใด
     ประวัติความเป็นมาของอาเซียนนาโพล เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 1981 ในกรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีการประชุมหัวหน้าตำรวจของประเทศอาเซียนอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดย 5 ประเทศสมาชิก ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็มีการประชุมกันในแต่ละปี จนกระทั่งในการประชุมครั้งที่ 20 เมื่อปี ค.ศ.2000 ที่เมียนมาร์ มีการประชุมสมาชิกครบ 10 ประเทศ และในการประชุมครั้งที่ 25 เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จึงมีการตั้งคณะทำงานเพื่อที่จะจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียนนาโพล เป็นการถาวร โดยก่อนปี ค.ศ.2009 ประเทศที่เป็นเจ้าภาพการประชุมจะทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการอาเซียนนาโพล
 
     เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2010 จึงมีการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวรอาเซียนนาโพล ที่กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยรัฐบาลมาเลเซีย ในฐานะเจ้าภาพ ให้การสนับสนุนในการจัดตั้งและการดำเนินงานในปีแรก และโดยความเห็นชอบร่วมกันของ 10 ประเทศสมาชิก ได้ร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในจำนวนเท่ากัน เพื่อใช้ดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการ ในแต่ละปีของ ตำแหน่งผู้อำนวยการหลัก 3 ตำแหน่ง (อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย) จ่ายค่าตอบแทนโดยประเทศที่ส่งมาปฏิบัติหน้าที่ โดยการปฏิบัติงานของเลขาธิการเริ่มต้นตาม Term of Reference (TOR) ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนนาโพล ซึ่งได้ลงนามกันโดยหัวหน้าตำรวจประเทศอาเซียน ระหว่างการประชุมครั้งที่ 29 ในปี 2009 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

     วัตถุประสงค์ของอาเซียนนาโพล
          1.เพื่อให้การนำนโยบายการแก้ไขปัญหาของอาเซียนนาโพล ไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          2.ปฏิบัติงานเป็นกลไกการประสานงานและติดต่อสื่อสาร
          3.เร่งรัดความช่วยเหลือและการปฏิบัติงานร่วมกันในระหว่างประเทศสมาชิก
          4.เพื่อเพิ่มระดับการปฏิบัติงานร่วมกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
     หน้าที่ของอาเซียนนาโพล
          1.เตรียมแผนการทำงานเพื่อที่จะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาของอาเซียนนาโพลไปสู่การปฏิบัติ
          2.เพื่อดำเนินงานด้านข่าวกรองและข้อมูลข่าวสารร่วมกัน
          3.เพื่อดำเนินงานในการปฏิบัติการร่วม ประสานงานการสืบสวนคดีอาญาและการบริหารจัดการระบบอิเลกทรอนิกส์ (e-ADS)
         4.ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือที่จำเป็นในการจัดประชุม ASEANAPOL และโครงการฝึกอบรม
         5.รับรายงานรายไตรมาศว่าด้วยแผนและกิจกรรมต่างๆ
         6.เตรียมรายงานประจำปีว่าด้วยกิจกรรมและค่าใช้จ่ายต่างๆ
         7.เก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่างๆ ของอาเซียนนาโพล
    😀อาเซียนนาโพล ได้กำหนด 13 หัวข้อของผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก ได้แก่
         1. การค้ายาเสพติด
         2. การก่อการร้าย
         3. การลักลอบนำเข้าอาวุธ
         4. การค้ามนุษย์
         5. อาชญากรรมเกี่ยวกับสัตว์ป่า
        6. Maritime Fraud
        7. อาชญากรรมทางการค้า การกระทำผิดเกี่ยวกับธนาคารและการฉ้อโกงบัตรเครดิต
        8. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
        9. การฉ้อโกงเอกสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
      10. การฉ้อโกงข้ามชาติ
      11. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอาเซียนนาโพล (Electronic ASEANAPOL Database System ( e-ADS)
      12. การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาชญากรรม
      13. การแลกเปลี่ยนโครงการการฝึกอบรมและบุคลากร ระหว่างกองกำลังตำรวจอาเซียน
     🌎อาเซียนนาโพล เมื่อเปรียบเทียบกับ INTERPOL และ EUROPOL มีความแตกต่างกันในแง่จำนวนประเทศที่เป็นสมาชิก จำนวนเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการ ซึ่งอาเซียนนาโพลมีจำนวนน้อยกว่ามาก และระยะเวลาการจัดตั้ง เกิดขึ้นมาไม่นาน ในขณะที่ทั้งสององค์กรดังกล่าว มีความเป็นมาที่ยาวนานกว่า
     👬จะเห็นได้ว่าความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำรวจของประเทศอาเซียน ได้เริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1981 (2534) และก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวร เมื่อปี ค.ศ.2010 (2553) สังเกตได้ว่าบทบาทของอาเซียนนาโพลได้มีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างเมื่อใกล้จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในโลกยุคเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้อาชญากรรมสามารถทำผิดได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเขตแดน หน่วยงานตำรวจในประเทศต่างๆ จึงต้องร่วมมือกันเพื่อไม่ให้เขตแดนระหว่างประเทศไม่เป็นข้อจำกัดในการต่อสู้กับอาชญากรรม
     😀สำหรับคราวหน้า ลองดูการนำเสนอข้อมูลตำรวจไทยกับเวียดนามกันนะครับ จะได้ให้เพื่อนลองตัดสินว่าตำรวจไทยกับเวียดนาม ใครจะหน้าตาดีกว่ากัน อิ..อิ..

ความคิดเห็น

  1. อยากได้ความรู้เกี่ยวกับ aseanapol ครับ ไม่ทราบว่าติดต่อท่านได้ทางไหนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. preeda2844@gmail.com ครับ
      เดวส่งอีเมล์ไปให้ครับ

      ลบ
  2. ขอบคณครับพอดีผมทำวิทยานิพน เปรียบเที่ยบ aseanapol และ Europol ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ครับขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรียนรู้เรื่องราวตำรวจญี่ปุ่นกันครับ

การทำงานของตำรวจยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่

ตำรวจเยอรมัน