ดูงานอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กับ บตส.

1 ก.ย.58 เวลา 12.00 น. เยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 🌳🌳พื้นป่ามรดกทางธรรมชาติของโลก วันนี้พวกเราเป็น "แขกคนสำคัญที่จะช่วยกันรักษาพื้นป่า" พวกเราได้รับเกียรติจาก คุณครรชิต ศรีนพวรรณ หน.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 👏มาบรรยายสรุปด้วยตนเอง
🌳อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีอายุ 53 ปี ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จากคำถามว่าทำอย่างไรจะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้ จึงมีการไปดูงานจากต่างประเทศว่ามีการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองป่าไม้อย่างไร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งแรกและเป็นต้นแบบ การบริหารจัดการในพื้นที่อื่นๆ

👬การดูแลป่าไม้ ไม่ใช่การทำงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพียงฝ่ายเดียว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ 🌲🌳🌵🍃
สถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย มีการทำลายป่าไม้ ตัดไม้เผาป่า เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันเราเหลือพื้นที่ป่าทุกประเภทเพียงร้อยละ 33 เท่านั้น !! 🍂🌾
การบุกรุกพื้นที่ป่า เกิดจากชาวบ้านที่ปลูกพื้นไร่แล้ว เมื่อไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเป้า ก็ไปบุกรุกพื้นที่ใหม่

🌴ปัญหาการทำลายป่าไม้ที่สำคัญขณะนี้ คือ การลักลอบตัดไม้พะยูง ความต้องการไม้พะยูง เป็นปัญหาเมื่อครั้งจัดกีฬาโอลิมปิคที่จีน มีความต้องการมากขึ้น👀 เริ่มมีการสำแดงเท็จที่ด่านศุลกากรเพื่อนำไม้พะยูงส่งออก ปัจจุบันชั่งกิโลขาย ในจีนมีการแสดงฐานะทางครอบครัว โดยบ้านไหนร่ำรวยต้องมีเฟอร์นเจอร์ไม้พะยูง
🌍 เขาใหญ่จะถูกถอดออกจากมรดกโลก🌏ก็เพราะปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูง ปัญหาลักลอบตัดและนำไม้พะยูงออกนอกประเทศเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในประเทศเราเองด้วย 👮ท่านหัวหน้าอุทยานเล่าให้ฟังว่า เมื่อต้องไปชี้แจงปัญหาไม้พะยูงในการประชุมระหว่างประเทศ เราตอบคำถามยากว่า บ้านเรามีหน่วยงานมากมายแต่ปล่อยให้คนมาตัดไม้ในประเทศเราและลักลอบเอาออกไปได้อย่างไร???
💵💶มูลเหตุจูงใจการลักลอบตัดไม้พะยูงคือ💰💰 ค่าตอบแทนที่ได้รับสูงมาก ท่านหัวหน้าอุทยานให้ข้อมูลที่น่าตกใจ คือ คนไทยรับจ้างพาคนตัดไม้ขึ้นไปในป่าครั้งละ 40,000 บาท ตัดเสร็จส่งลงข้างล่าง 40,000 บาท ค่าตรวจสอบข่าวความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่รัฐ รับโทรศัพท์ครั้งละ 2,000 บาท มีการทำเป็นขบวนการ
รับจ้างแบก คิดเป็นน้ำหนักไม้ กิโลกรัมละ 250 บาท การลักลอบตัดและขนไม่ต้องรีบทำให้เสร็จภายในครึ่งคืน ในแง่การลงทุนของผู้กระทำผิดยอมเคลียร์ คุ้มกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
🚕การซุกซ่อนขนออกจากพื้นที่ มีการดัดแปลงสภาพรถ ใช้รถแวน 🚐กระบะใหม่ๆ 🚗เพื่อขนไม้ออกไป ปัญหาสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ เมื่อตั้งด่านและตรวจเข้มก็ถูกสังคมสงสัยว่าจะไปเรียกรับประโยชน์ ไถเงินรถ การตรวจค้นปกติจะไม่พบ ต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบ อย่างสูง
🐯นอกจากนี้ยังมีปัญหาสัตว์ป่า เช่น การค้างาช้าง ลักลอบนำลูกเสือโคร่ง🐅ออกไปต่างประเทศ มีการเพาะพันธ์เสือโคร่งส่งจำหน่ายต่างประเทศ
😃ท่านหัวหน้าอุทยานเล่าให้พวกเราทราบว่า "ทรัพย์สินของท่านที่ฝากเราดูแล เราดูแลอย่างไร" ทรัพย์สินนั้นก็คือพื้นป่า🌲🍃ที่เป็นสมบัติของทุกคน อุทยานเขาใหญ่มีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ใช้การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มีแผนที่ GPS อาวุธปืน ฝึกอบรมเตรียมพร้อมก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ เก็บข้อมูลเชิงนิเวศ
ท่านหัวหน้าอุทยาน ชี้ให้เห็นว่าการทำงานรักษาป่า ก็ต้องการความเป็น "หุ้นส่วน" เช่นกัน👬 เพราะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ก็ได้ร่วมทำงานกับตำรวจในหลายส่วน เช่น การฝึกอบรมจากตำรวจตระเวนชายแดน งานการข่าว การสืบสวนกับตำรวจท้องที่ ตำรวจป่าไม้ การสอบสวนดำเนินคดี สั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง ซึ่งดำเนินการโดยพนักงานสอบสวน การร่วมสนธิกำลังในการปฏิบัติการ ทำงานร่วมหลายหน่วย โดยผู้บังคับบัญชาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

🌴🌾จบกิจกรรมเยี่ยมชมเขาใหญ่ด้วยการเดินป่า🐘เข้าไปเพื่อสร้างโป่งดิน ซึ่งเป็นการเพิ่มเกลือแร่ในดินให้แก่สัตว์ป่า ขณะเดินเข้าไปได้สัมผัสธรรมชาติ ต้นไม้ที่งดงาม🌲 วิวทิวทัศน์🌻 ภูเขา ทุ่งหญ้า 🌾อากาศสดชื่น 🐒ขอบคุณวิทยาลัยการตำรวจ ที่ให้โอกาสมาสัมผัสบรรยายกาศแบบนี้ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ประทับใจและทำให้เรารักพื้นป่าและธรรมชาติมากขึ้นอีกด้วยครับ💗💚

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรียนรู้เรื่องราวตำรวจญี่ปุ่นกันครับ

การทำงานของตำรวจยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่

ตำรวจเยอรมัน