ตำรวจไทย 4.0 (ตอนที่ 2)
👮ตำรวจไทย 4.0
(ตอนที่ 2)
สัญญาไว้กับแฟนคลับ ต้องรักษาสัญญาครับ ตำรวจไทย 1.0 2.0 3.0 เป็นอย่างไร❓
สำหรับ ไทยแลนด์ 1.0 ทางการเค้าบอกมาว่า คือ สยามในสมัยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม🌾 ชาวบ้านทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก🌽
ผมจึงขอเปรียบเทียบ 👮ตำรวจไทย 1.0 ว่า "ตำรวจ คือ ประชาชน และ ตำรวจ คือ ประชาชน" เพราะก่อนที่จะมีการตั้งกองกำลังตำรวจสมัยใหม่ที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับเงินเดือนและทำงานเต็มเวลา ผู้ที่ทำหน้าเสมือนเป็นตำรวจก็คือประชาชนในชุมชนท้องถิ่นที่เข้าเวรยาม ผลัดเปลี่ยนกันออกตรวจตราป้องกันเหตุร้ายในชุมชน และช่วยกันออกติดตามจับกุมโจรผู้ร้าย โดยมีผู้นำในชุมชนดั้งเดิม ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อำเภอ เป็นผู้นำ ช่วยบริหารจัดการ ภายใต้สังคมเกษตรกรรมที่อาชญากรรมยังมีไม่มาก ไม่สลับซับซ้อน ระบบงานรักษาความสงบเรียบร้อยแบบนี้ จึงสามารถรับมือได้
ไทยแลนด์ 2.0 ทางการเค้าบอกว่า คือ ยุคอุตสาหกรรมเบา เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคที่เริ่มมีอุตสาหกรรมช่วงแรกๆ มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ นำความเจริญสู่สยาม การมีเครื่องจักรกลที่สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว การเติบโตของเศรษฐกิจมาพร้อมกับปัญหาสังคมและอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น ระบบงานรักษาความสงบแบบดั้งเดิมไม่อาจรับมือได้อีกต่อไป
ในฝากฝั่งอังกฤษช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยแบบเดิมไม่สามารถรับมือกับอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจได้ เมื่อปี ค.ศ.1829 (พ.ศ.2372) Sir Robert Peel นักการเมืองอังกฤษ ได้ก่อตั้งกองกำลังตำรวจนครบาลลอนดอน และจัดองค์กรแบบสมัยใหม่เป็นครั้งแรก เป็นองค์กรแบบกึ่งทหาร คือ มีระดับตำแหน่ง มีระบบควบคุมปกครองบังคับบัญชาคล้ายทหาร เป็นกองกำลังที่ได้รับเงินเดือนตอบแทนและทำงานเต็มเวลา โดยเชื่อว่าการจัดองค์กรแบบนี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
👮ตำรวจไทย 2.0 ได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีก 31 ปี เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กัปตันแซมมูเอล โจเซฟ เบิร์ด เอมส์ จัดตั้ง "กองโปลิสคอนสเตเบิ้ล" ในปี พ.ศ.2403 เป็นกองกำลังตำรวจแห่งแรกของสยาม ในลักษณะเดียวกับตำรวจอังกฤษ (พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ด้วยเหตุผลนี้ครับ)
👮การตั้งกองกำลังตำรวจของสยามในระยะเริ่มแรก จัดตั้งในพื้นที่แถวสำเพ็งในปัจจุบัน เป็นย่านที่มีชาวจีนมาเข้าตั้งรกราก ค้าขายจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอาชญากรรม และความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดขึ้นมาก กองโปลิสคอนสเตเบิ้ล จัดองค์กร ระบบตำแหน่ง การบังคับบัญชา วิธีการทำงานแบบตำรวจอังกฤษ ส่วนตำรวจในพื้นที่ต่างจังหวัด ได้รับการจัดตั้งและพัฒนาขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเมื่อปี 2440 มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธร ขึ้น กิจการตำรวจภูธร ได้รับอิทธิพลการจัดองค์กร ระบบตำแหน่ง วิธีการปฏิบัติงานแบบตำรวจฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่สามารถใช้อาวุธได้ เนื่องจากกองกำลังตำรวจ นอกจากทำหน้าที่ตรวจตรา จับกุมโจรผู้ร้ายแล้ว ยังจะต้องทำหน้าที่หาข่าว และตรวจตราเฝ้าระวังข้าศึกในพื้นที่ห่างไกลจากพระนคร ด้วย
ไทยแลนด์ 3.0 ทางการเค้าบอกว่าเป็นยุคที่อุตสาหกรรมซับซ้อนมากขึ้น แต่มีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่สมดุลของการพัฒนา แม้ว่าเศรษฐกิจภาพรวมจะเติบโต แต่คนยากจนยังมีอยู่มาก ความไม่สมดุลในการพัฒนาทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีรายได้ที่ไม่สมดุลกับค่าครองชีพที่สูงมาก ผลกระทบย่อมทำให้เกิดปัญหาสังคม ความไม่เป็นระเบียบและกลายเป็นปัญหาอาชญากรรมในที่สุด
ตำรวจไทย 3.0 เมื่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้นจากปัญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุล ตำรวจจึงต้องปรับตัวให้สามารถรับมือกับอาชญากรรมที่รุนแรงมากขึ้น ให้ได้ ตำรวจไทย 3.0 จึงเป็นยุคที่มีการพัฒนาใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน พัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ (professional)ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
กรมตำรวจ ได้เริ่มต้นนำวิทยาการสมัยใหม่ มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 เมื่อนายตำรวจที่จบการศึกษาวิชาการตำรวจจากประเทศอังกฤษ คือ พล.ต.ต.หลวงชาติตระการโกศล ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมตำรวจ มีการพัฒนาหน่วยงานด้านวิทยาการตำรวจ งานพิสูจน์หลักฐาน 🔬ให้สามารถสนับสนุนตำรวจท้องที่ได้ โดยตั้งเป็น กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งรวมงานวิทยาการ งานทะเบียนประวัติอาชญากร และการตรวจพิสูจน์หลักฐานไว้ในหน่วยงานดังกล่าวด้วย
หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการพัฒนาเพื่อให้งานตำรวจมีความทันสมัยและมีความเป็นวิชาชีพยิ่งขึ้น เช่น การรับงานผลิตนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร กลับคืนมาจากกองทัพบก หลังจากการยุบโรงเรียนนายตำรวจ ไปเรียนรวมกับนายร้อยทหารบก มีการจัดตั้งกองบังคับการศึกษา ในปี พ.ศ.2491 ซึ่งประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย คือ กองกำกับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และกองกำกับการโรงเรียนนายสิบตำรวจและพลตำรวจ ซึ่งต่อมาพัฒนากลายเป็นกองบัญชาการศึกษา ทำให้งานตำรวจมีความเป็นวิชาชีพตำรวจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ.2503 ในส่วนของตํารวจนครบาล
ได้พัฒนาการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม โดยนำวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะที่ทันสมัยมาใช้ นํารูปแบบของสายตรวจที่เรียกว่า 🚔รถวิทยุสายตรวจและศูนย์รวมข่าว มาใช้เพื่อปรับปรุงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มีรถยนต์สายตรวจวิ่งตรวจตรา 24 ชั่วโมง มีศูนย์รับแจ้งเหตุทาง☎️โทรศัพท์ 191 และสั่งการรถสายตรวจโดยใช้วิทยุสื่อสาร และจัดตั้งเป็น กองกำกับการรถวิทยุและศูนย์รวมข่าว ต่อมาปรับโครงสร้างเป็น กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในปี 2519
การพัฒนาของกรมตำรวจในยุคนี้ มีการขยายตัวของกำลังพลและงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก
👬ในด้านกำลังพล ช่วงปี พ.ศ.2500-2508 กรมตำรวจ มีกำลังพลประมาณ 51,000 นาย หลังจากได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ผ่านองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐฯ หรือที่เราเรียกย่อๆ ว่ายูซอม หรือ USOM (United States Operations Mission) ภายใต้สถานการณ์คุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ มีความต้องการให้ตั้งสถานีตำรวจตำบล เพื่อเป็นการขยายอำนาจรัฐออกไปในพื้นที่ห่างไกล ต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้กรมตำรวจต้องขยายจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจรองรับ จนกระทั่งในปี 2516 กรมตำรวจ มีกำลังพลเพิ่มเป็น 82,316 นาย และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในด้านงบประมาณ💰 ในช่วงปี 2503 กรมตำรวจ ได้รับงบประมาณ 500 ล้านบาท และได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งปี 2518 ได้รับถึง 2,400 ล้านบาท งบประมาณที่ได้รับแต่ละปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5-7 ของงบประมาณรายจ่ายประเทศ
(ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้งบประมาณ💰คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของงบประมาณประเทศ) ❗️
ความเป็นวิชาชีพด้านการบริหาร กรมตำรวจเริ่มจัดแผนงานเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงาน คือ แผนแม่บทกรมตำรวจฉบับที่ 1 (พ.ศ.2530-2534) และมีการจัดทำแผนมาอย่างต่อเนื่อง และปรับเป็นการจัดทำยุทธศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
📍กิจการตำรวจไทยได้มีวิวัฒนาการ มาพร้อมกับวิวัฒนาการของสังคมไทย ในยุคเกษตรกรรม เมื่อปัญหาอาชญากรรมยังไม่รุนแรงและซับซ้อน ประชาชนจึงสามารถช่วยกันดูแลกันเองได้ แต่เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม สังคมจึงต้องการกองกำลังตำรวจที่มาช่วยดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะ และพัฒนาให้มีความเป็นวิชาชีพมากขึ้น
📌ส่วนเมื่อประเทศไทยต้องการเป็น ไทยแลนด์ 4.0 ตำรวจจะเป็น ตำรวจไทย 4.0 ได้อย่างไร ขอเชิญแฟนคลับ ติดตามตอนต่อไปครับ 🙏🏻
🎀🎊🎉สวัสดีปีใหม่ครับ🎉
(ตอนที่ 2)
สัญญาไว้กับแฟนคลับ ต้องรักษาสัญญาครับ ตำรวจไทย 1.0 2.0 3.0 เป็นอย่างไร❓
สำหรับ ไทยแลนด์ 1.0 ทางการเค้าบอกมาว่า คือ สยามในสมัยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม🌾 ชาวบ้านทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก🌽
ผมจึงขอเปรียบเทียบ 👮ตำรวจไทย 1.0 ว่า "ตำรวจ คือ ประชาชน และ ตำรวจ คือ ประชาชน" เพราะก่อนที่จะมีการตั้งกองกำลังตำรวจสมัยใหม่ที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับเงินเดือนและทำงานเต็มเวลา ผู้ที่ทำหน้าเสมือนเป็นตำรวจก็คือประชาชนในชุมชนท้องถิ่นที่เข้าเวรยาม ผลัดเปลี่ยนกันออกตรวจตราป้องกันเหตุร้ายในชุมชน และช่วยกันออกติดตามจับกุมโจรผู้ร้าย โดยมีผู้นำในชุมชนดั้งเดิม ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อำเภอ เป็นผู้นำ ช่วยบริหารจัดการ ภายใต้สังคมเกษตรกรรมที่อาชญากรรมยังมีไม่มาก ไม่สลับซับซ้อน ระบบงานรักษาความสงบเรียบร้อยแบบนี้ จึงสามารถรับมือได้
ไทยแลนด์ 2.0 ทางการเค้าบอกว่า คือ ยุคอุตสาหกรรมเบา เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคที่เริ่มมีอุตสาหกรรมช่วงแรกๆ มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ นำความเจริญสู่สยาม การมีเครื่องจักรกลที่สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว การเติบโตของเศรษฐกิจมาพร้อมกับปัญหาสังคมและอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น ระบบงานรักษาความสงบแบบดั้งเดิมไม่อาจรับมือได้อีกต่อไป
ในฝากฝั่งอังกฤษช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยแบบเดิมไม่สามารถรับมือกับอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจได้ เมื่อปี ค.ศ.1829 (พ.ศ.2372) Sir Robert Peel นักการเมืองอังกฤษ ได้ก่อตั้งกองกำลังตำรวจนครบาลลอนดอน และจัดองค์กรแบบสมัยใหม่เป็นครั้งแรก เป็นองค์กรแบบกึ่งทหาร คือ มีระดับตำแหน่ง มีระบบควบคุมปกครองบังคับบัญชาคล้ายทหาร เป็นกองกำลังที่ได้รับเงินเดือนตอบแทนและทำงานเต็มเวลา โดยเชื่อว่าการจัดองค์กรแบบนี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
👮ตำรวจไทย 2.0 ได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีก 31 ปี เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กัปตันแซมมูเอล โจเซฟ เบิร์ด เอมส์ จัดตั้ง "กองโปลิสคอนสเตเบิ้ล" ในปี พ.ศ.2403 เป็นกองกำลังตำรวจแห่งแรกของสยาม ในลักษณะเดียวกับตำรวจอังกฤษ (พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ด้วยเหตุผลนี้ครับ)
👮การตั้งกองกำลังตำรวจของสยามในระยะเริ่มแรก จัดตั้งในพื้นที่แถวสำเพ็งในปัจจุบัน เป็นย่านที่มีชาวจีนมาเข้าตั้งรกราก ค้าขายจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาอาชญากรรม และความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดขึ้นมาก กองโปลิสคอนสเตเบิ้ล จัดองค์กร ระบบตำแหน่ง การบังคับบัญชา วิธีการทำงานแบบตำรวจอังกฤษ ส่วนตำรวจในพื้นที่ต่างจังหวัด ได้รับการจัดตั้งและพัฒนาขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเมื่อปี 2440 มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธร ขึ้น กิจการตำรวจภูธร ได้รับอิทธิพลการจัดองค์กร ระบบตำแหน่ง วิธีการปฏิบัติงานแบบตำรวจฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่สามารถใช้อาวุธได้ เนื่องจากกองกำลังตำรวจ นอกจากทำหน้าที่ตรวจตรา จับกุมโจรผู้ร้ายแล้ว ยังจะต้องทำหน้าที่หาข่าว และตรวจตราเฝ้าระวังข้าศึกในพื้นที่ห่างไกลจากพระนคร ด้วย
ไทยแลนด์ 3.0 ทางการเค้าบอกว่าเป็นยุคที่อุตสาหกรรมซับซ้อนมากขึ้น แต่มีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่สมดุลของการพัฒนา แม้ว่าเศรษฐกิจภาพรวมจะเติบโต แต่คนยากจนยังมีอยู่มาก ความไม่สมดุลในการพัฒนาทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีรายได้ที่ไม่สมดุลกับค่าครองชีพที่สูงมาก ผลกระทบย่อมทำให้เกิดปัญหาสังคม ความไม่เป็นระเบียบและกลายเป็นปัญหาอาชญากรรมในที่สุด
ตำรวจไทย 3.0 เมื่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้นจากปัญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุล ตำรวจจึงต้องปรับตัวให้สามารถรับมือกับอาชญากรรมที่รุนแรงมากขึ้น ให้ได้ ตำรวจไทย 3.0 จึงเป็นยุคที่มีการพัฒนาใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน พัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ (professional)ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
กรมตำรวจ ได้เริ่มต้นนำวิทยาการสมัยใหม่ มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 เมื่อนายตำรวจที่จบการศึกษาวิชาการตำรวจจากประเทศอังกฤษ คือ พล.ต.ต.หลวงชาติตระการโกศล ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมตำรวจ มีการพัฒนาหน่วยงานด้านวิทยาการตำรวจ งานพิสูจน์หลักฐาน 🔬ให้สามารถสนับสนุนตำรวจท้องที่ได้ โดยตั้งเป็น กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งรวมงานวิทยาการ งานทะเบียนประวัติอาชญากร และการตรวจพิสูจน์หลักฐานไว้ในหน่วยงานดังกล่าวด้วย
หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการพัฒนาเพื่อให้งานตำรวจมีความทันสมัยและมีความเป็นวิชาชีพยิ่งขึ้น เช่น การรับงานผลิตนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร กลับคืนมาจากกองทัพบก หลังจากการยุบโรงเรียนนายตำรวจ ไปเรียนรวมกับนายร้อยทหารบก มีการจัดตั้งกองบังคับการศึกษา ในปี พ.ศ.2491 ซึ่งประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย คือ กองกำกับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และกองกำกับการโรงเรียนนายสิบตำรวจและพลตำรวจ ซึ่งต่อมาพัฒนากลายเป็นกองบัญชาการศึกษา ทำให้งานตำรวจมีความเป็นวิชาชีพตำรวจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ.2503 ในส่วนของตํารวจนครบาล
ได้พัฒนาการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม โดยนำวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะที่ทันสมัยมาใช้ นํารูปแบบของสายตรวจที่เรียกว่า 🚔รถวิทยุสายตรวจและศูนย์รวมข่าว มาใช้เพื่อปรับปรุงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มีรถยนต์สายตรวจวิ่งตรวจตรา 24 ชั่วโมง มีศูนย์รับแจ้งเหตุทาง☎️โทรศัพท์ 191 และสั่งการรถสายตรวจโดยใช้วิทยุสื่อสาร และจัดตั้งเป็น กองกำกับการรถวิทยุและศูนย์รวมข่าว ต่อมาปรับโครงสร้างเป็น กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในปี 2519
การพัฒนาของกรมตำรวจในยุคนี้ มีการขยายตัวของกำลังพลและงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก
👬ในด้านกำลังพล ช่วงปี พ.ศ.2500-2508 กรมตำรวจ มีกำลังพลประมาณ 51,000 นาย หลังจากได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ผ่านองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐฯ หรือที่เราเรียกย่อๆ ว่ายูซอม หรือ USOM (United States Operations Mission) ภายใต้สถานการณ์คุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ มีความต้องการให้ตั้งสถานีตำรวจตำบล เพื่อเป็นการขยายอำนาจรัฐออกไปในพื้นที่ห่างไกล ต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้กรมตำรวจต้องขยายจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจรองรับ จนกระทั่งในปี 2516 กรมตำรวจ มีกำลังพลเพิ่มเป็น 82,316 นาย และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในด้านงบประมาณ💰 ในช่วงปี 2503 กรมตำรวจ ได้รับงบประมาณ 500 ล้านบาท และได้รับเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งปี 2518 ได้รับถึง 2,400 ล้านบาท งบประมาณที่ได้รับแต่ละปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5-7 ของงบประมาณรายจ่ายประเทศ
(ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้งบประมาณ💰คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของงบประมาณประเทศ) ❗️
ความเป็นวิชาชีพด้านการบริหาร กรมตำรวจเริ่มจัดแผนงานเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงาน คือ แผนแม่บทกรมตำรวจฉบับที่ 1 (พ.ศ.2530-2534) และมีการจัดทำแผนมาอย่างต่อเนื่อง และปรับเป็นการจัดทำยุทธศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
📍กิจการตำรวจไทยได้มีวิวัฒนาการ มาพร้อมกับวิวัฒนาการของสังคมไทย ในยุคเกษตรกรรม เมื่อปัญหาอาชญากรรมยังไม่รุนแรงและซับซ้อน ประชาชนจึงสามารถช่วยกันดูแลกันเองได้ แต่เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม สังคมจึงต้องการกองกำลังตำรวจที่มาช่วยดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะ และพัฒนาให้มีความเป็นวิชาชีพมากขึ้น
📌ส่วนเมื่อประเทศไทยต้องการเป็น ไทยแลนด์ 4.0 ตำรวจจะเป็น ตำรวจไทย 4.0 ได้อย่างไร ขอเชิญแฟนคลับ ติดตามตอนต่อไปครับ 🙏🏻
🎀🎊🎉สวัสดีปีใหม่ครับ🎉
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น