ตำรวจไทย 4.0 (ตอนที่ 3 ตอนจบ)
ตำรวจไทย 4.0 (ตอนที่ 3 ตอนจบ)
ตำรวจมีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่แล้ว
1.การลดอาชญากรรม
2.การต่อสู้กับการคอรัปชั่น
3.ปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน
4.ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
5.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชนบท
6.ปรับปรุงการขนส่งสาธารณะในพื้นที่เมือง
ในปี 2013 ท่านผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซีย (Inspector General of Police) คือ IG Tan Sri Dato’ Sri Khalid bin Abu Bakar (ท่านนี้ ผมเคยไปรับประทานอาหารร่วมกันท่าน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย มาแล้วครับ 55 ไม่ได้โม้ครับ แต่นั่งคนละโต๊ะนะครับ) ได้ประการจุดเน้น 3 ประการ เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว
1.การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
2.ควบคุมและจำกัดระดับอาชญากรรม โดยการป้องกันและการสืบสวนที่มีคุณภาพ
3.ยกระดับด้านความซื่อสัตย์และมาตรฐานบุคลากรตำรวจมาเลเซีย
บทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน หรืออาจเรียกว่าเป็นคู่แข่งของเราอย่างมาเลเซีย แสดงให้เห็นว่างานในความรับผิดชอบของตำรวจ คือ การลดอาชญากรรม เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่จะทำให้ประเทศพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งประชากรมีรายได้สูง
สำหรับทิศทางในการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เมื่อรัฐบาลต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้มีนวัตกรรม เพื่อให้เราทำงานเหนื่อยน้อยลงแต่มีผลตอบแทนที่สูงขึ้น และสร้างความเชื่อมระหว่างภายในและนอกประเทศ เพื่อก้าวออกไปแข่งขันกันประเทศอื่นๆ ได้อย่างสมศักดิ์ศรี
ตามที่ฝรั่งเค้าประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ World Economic Forum เห็นว่าตำรวจเป็นสถาบันพื้นฐานที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการภาคธุรกิจเอกชน ว่าจะได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้รับความเป็นธรรมจากการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ได้รับการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา อาชญากรรมองค์การ เป็นต้น อาชญากรรมและการลักขโมย จะอยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คงไม่มีพ่อค้าคนไหน ขายของได้หากโจรเต็มบ้านเมืองใช่หรือไม่ครับ (อาจจะยกเว้นพ่อค้าอาวุธหรือเปล่า ไม่แน่ใจครับ)
ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นผ่านการเดินทาง การติดต่อผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้การกระทำผิดของอาชญากรก็สามารถเกิดขึ้นโดยไร้ข้อจำกัดด้านพรหมแดน เช่นกัน รวมทั้งความก้าวหน้าด้านวิทยาการ นวัตกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น อาจเป็นเครื่องมือหรือช่องทางให้เกิดการกระทำผิดในรูปแบบใหม่ ดังเช่นการที่อาชญากร สามารถเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อขโมยเงินในบัญชี ได้ไม่ว่าอยู่ส่วนใดของโลก
1.สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน
คิดในทางกลับกันครับ เราเองจะเชื่อมั่นใครซักคน เราเชื่อมั่นเค้าจากอะไรสิ่งใดทำให้เราเชื่อมั่นคนซักหนึ่งคน
-พฤติกรรมในอดีต ถ้าคุณเคยมีกิ๊ก แม้ว่าจะเลิกกับกิ๊กไปแล้ว แฟนคุณจะเชื่อมั่นในตัวคุณมากน้อยขนาดไหนครับ นั่นคือพฤติกรรมในอดีต เหมือนกันครับ ตำรวจโรงพักนี้ เดือนก่อนจับคนร้ายชิงทรัพย์ได้ ผมเชื่อมั่นไปก่อนแล้วว่าคดีนี้ พี่ตำรวจจับคนร้ายให้ผมได้แน่ ดังนั้น การแถลงข่าวการจับกุมคนร้ายได้ ก็คือการสร้างความเชื่อมั่นวิธีหนึ่งครับ
-มาตรฐานการทำงาน ความเป็นมืออาชีพ เวลาท่านไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารร้านหนึ่ง เห็นแม่ครัว พ่อครัว แต่งตัวเรียบร้อยสะอาด สวมผ้าปิดปาก พนักงานเสริฟ ยกจานด้วยท่าทางทะมัดทะแมง กับอีกร้าน แม่ครัวพ่อครัว ทำไปกับข้าวไป เม้าทกันไป ไม่มีผ้าปิดปาก เด็กเสริฟแทบจะเอานิ้วจุ่มในชาม ท่านอยากกินร้านไหนครับ เช่นเดียวกันครับ เดินขึ้นโรงพัก เห็นตำรวจแต่งเครื่องแบบเรียบร้อย สายตรวจอุปกรณ์ครบ เกิดเหตุ สายตรวจเข้าขึง Police line สายสืบเข้าพื้นที่ห้อยบัตรแสดงตัว พฐ.ถึงที่เกิดเหตุสวมถุงมือเรียบร้อย ท่านจะเชื่อมั่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ครับ?
-ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อทำทุกอย่างครบถ้วน บางครั้งก็อาจเกิดการเข้าใจผิดจากประชาชนได้ครับ ตำรวจจึงจำเป็นต้องชี้แจงทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมาย กระบวนการขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการ
4.พร้อมรับมือในโลกไซเบอร์
ไทยแลนด์ 4.0 มาพร้อมกับนวัตกรรมทุกด้าน รวมทั้งโลกของดิจิทัล การธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเลกทรอนิกส์ หรือ e money การติดต่อซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต อาชญากรก็ย่อมเปลี่ยนการลักขโมยของในห้างสรรพสินค้า มาเป็นการหลอกลวงซื้อหรือขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต การเจาะเข้าระบบเพื่อขโมยเงินจากบัญชี เป็นต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคใหม่ จำเป็นต้องก้าวให้ทันอาชญากรยุค 4.0 เช่นกัน
5.นวัตกรรมป้องกันอาชญากรรมสมัยใหม่
เมื่อรัฐต้องการส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชน สร้างนวัตกรรมในด้านธุรกิจ การค้าขาย ตำรวจย่อมต้องการนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเช่นกัน คำว่านวัตกรรม ที่มาจาก Innovation มิได้จำกัดว่าต้องเป็นเครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัยที่จะนำมาใช้ป้องกันหรือติดตามจับกุมคนร้ายเพียงเท่านั้น อาจเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการ หรือนวัตกรรมด้านการปฏิบัติงาน ที่เป็นวิธีการใหม่ ที่สร้างสรรค์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีแต่ลงทุนลงแรงน้อยก็ได้นะครับ
ต่อไปอาจเห็น Drone ออกตรวจป้องกันอาชญากรรม และบินติดตามรถคนร้าย!
ต่อไปตำรวจอาจติดอุปกรณ์ GPS ที่ตัวผู้ต้องหาซึ่งได้รับการประกันตัว!
ต่อไปทรัพย์สินในบ้านอาจมีเครื่องบอกตำแหน่งติดไว้ทุกชิ้น ทำให้สามารถติดตามจับกุมตีนแมวที่เข้ามาขโมยของในบ้านได้อย่างรวดเร็ว
และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วแต่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตำรวจยุค 4.0
6.ใช้กำลังตำรวจน้อยลง
ตำรวจทุกประเทศ ล้วนมีกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างจำกัด การใช้กำลังตำรวจน้อยลง จำเป็นต้องปรับวิธีการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เราอาจต้องกลับมาทบทวนหรือทำการวิจัยกันว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ตรวจตราเพื่อหวังว่าจะสามารถป้องกันเหตุอาชญากรรมมิให้เกิดขึ้นได้ เป็นวิธีการที่ป้องกันมิให้เหตุเกิดได้จริงหรือไม่?
7.เป็นผู้นำในภูมิภาค
ไทยแลนด์ 4.0 ต้องการความเชื่อมโยง และขีดความสามารถในการแข่งขัน การไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ เราจึงจำเป็นต้องก้าวออกไปเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค งานตำรวจก็เช่นเดียวกันครับ การก้าวออกไป เพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับประเทศในภูมิภาค หรือนอกภูมิภาค ย่อมเป็นการยกระดับและเรียนรู้สิ่งใหม่มาใช้ในกิจการตำรวจภายใน และยังเป็นการแสดงศักยภาพไปสู่สังคมโลกอีกด้วย
สิ่งที่กล่าวไปข้างต้น คิดว่าเป็นแนวทางในระดับนโยบายที่จำเป็นในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์กรตำรวจ ในฐานะตำรวจเล็กๆ คนหนึ่ง จึงทำได้แค่นำเสนอแนวความคิด และนำเสนอในฐานะฝ่ายอำนวยการ เพื่อบรรจุไว้ในการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนเพื่อพ้องน้องพี่ในฐานะผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนหน่วยงานระดับสถานีตำรวจ ระดับกองบังคับการหรือตำรวจภูธรจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญยิ่ง ผมมีข้อเสนอเกี่ยวกับการบริหารของหน่วยงานของท่าน ที่จะสามารถบริหารจัดการหน่วยงานได้ แบบเน้นๆ คือ
1.การบริหารงานทั่วไป
บทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้บริหารระดับกลางของหน่วยงานตำรวจ มีบทบาทที่อาจจะแตกต่างจากผู้บริหารขององค์กรอื่นๆ เนื่องจากตำรวจต้องแสดงบทบาทหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าสถานีตำรวจ ไม่ว่าระดับใด ท่านจะเป็นทั้งนักบริหาร นักปกครอง นักประสานงาน นักพัฒนา และนักปฏิบัติในคนๆ เดียว
การบริหารองค์กรในยุค 4.0 การบริหารที่ต้องคิดไปข้างหน้า ยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ แล้วบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์ เพราะยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ใครรู้เร็วกว่า แก้ปัญหาเร็วกว่า ปรับตัวเร็วกว่า ผู้นั้นชนะ ครับ
2.การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
มดงานที่สำคัญของงานตำรวจ คือ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และรองสารวัตร ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ต้องพบปะกับประชาชนตลอดเวลา ยุคโซเซียลมีเดีย ที่ประชาชนทุกคนพร้อมจะเป็นนักจัดรายการทีวี ด้วยการ LIVE ผ่าน Facebook ลูกน้องของเรา มีความพร้อมแค่ไหนที่จะแสดงบทบาทเป็นตำรวจผู้รักษากฎหมายที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเอาตัวรอดได้
3.การบริหารและพัฒนาบุคลากร
นอกจากความรู้ข้อกฎหมายที่ต้องแม่นยำ แล้ว วิธีการพูดจาเอาตัวรอดก็เป็นสิ่งจำเป็น ปฏิภาณไหวพริบ ส่วนหนึ่งอาจมาจากพรสวรรค์ แต่ผู้ที่ไม่มีพรสวรรค์ สามารถฝึกฝน เตรียมการสำหรับแก้ไขปัญหาได้นะครับ วิชาทักษะการติดต่อสื่อสารกับประชาชน วิชาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง วิชาการเจรจาต่อรอง วิชาการฝึกความอดทนแต่ความกดดันจากประชาชน จำเป็นต้องถูกบรรจุไว้ในหลักสูตร นสต. นรต. หรือการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติการ และมีการฝึกฝนการปฏิบัติจริง
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่สามารถปรับปรุงหลักสูตรได้ทัน นักบริหารงานตำรวจระดับต้นและระดับกลาง อาจแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ด้วยการฝึกฝน ให้แนวทางการปฏิบัติเมื่อลูกน้องต้องเจอสถานการณ์ที่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหา การฝึกฝนการปฏิบัติในขณะปฏิบัติงาน (On the job training) ก็เป็นแนวทางอย่างหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ การฝึกประจำสัปดาห์ อาจปรับรูปแบบ นอกเหนือจากฝึกแถวชิด ฝึกยุทธวิธีการตรวจค้น จับกุม แล้ว ลองฝึกลูกน้องว่า เมื่อต้องไประงับเหตุผัวเมียกำลังตีกัน จะทำอย่างไร ระงับเหตุคนเมา จะทำอย่างไร เจอคนหัวหมอไม่ยอมให้ตรวจค้น จะทำอย่างไร ใช้คำพูดอย่างไร มีวิธีการระงับอารมณ์โกรธที่ถูกยั่วยวนอย่างไร? ถ้าเจ้านายเองคิดไม่ออก ก็ให้ลูกน้องช่วยกันคิดด้วยกันแหละครับ
4.การใช้เทคโนโลยี และ social media
โลกยุคปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยี ได้หลายแบบ เช่น
-เผยแพร่ผลงาน / สร้างภาพลักษณ์ที่ดี
-ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การป้องกันตัวเอง เส้นทางการจราจร
-ติดตามผู้กระทำผิด สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดผ่านอินเตอร์เน็ต
-ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของมวลชน งานด้านความมั่นคง
-ตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจ (เช่น กลุ่ม LINE)
-ดูแลความเป็นอยู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (55 แอบส่อง face ลูกน้องไงครับ..)
5.การทำงานร่วมกับชุมชน ประชาชน
หากเราเป็นตำรวจแบบยุคดั้งเดิม วิธีการทำงานของเราก็คือ การให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องการจับกุมคนร้ายให้ได้ การปราบปรามเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น เมื่อมีคนร้ายวิ่งราวทรัพย์ วิธีแก้ปัญหาแบบดั้งเดิม ก็คือ ไปจับคนร้ายมาเข้าคุกให้ได้ วิธีดังกล่าว แม้ว่าในวงการตำรวจถือว่าได้ผล ตำรวจที่จับคนร้ายได้มีผลงานดี แต่ปัญหาคนร้ายคนอื่นที่อาจจะไปวิ่งราวทรัพย์อีก ก็ยังไม่ได้รับแก้ไข
วิธีการทำงานตำรวจ ที่จะทำให้สังคมสงบสุข และเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั้งยืนในการควบคุมอาชญากรรม คือ ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุคนร้ายวิ่งราวทรัพย์รายใหม่เกิดขึ้น
แนวคิดแบบใหม่ ต้องการให้ตำรวจและชุมชน ทำงานร่วมกัน เสมือนเป็น“หุ้นส่วน”เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน (แก้ไขปัญหาแบบถาวร) เช่น เมื่อเกิดเหตุคนร้ายวิ่งราวทรัพย์ คนที่สืบสวนติดตามจับกุม ก็ทำงานไปตามเดิมแหละครับ จับได้ก็เอาเข้าคุกไป แต่หน้าที่ของตำรวจโรงพักนั้นยังไม่เสร็จสิ้น แต่จะต้องมาวิเคราะห์กันต่อว่า เหตุวิ่งราวคดีนี้หรือคดีอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ทำไม่เกิดบ่อย และเกิดบริเวณที่เดิม ทำไม ทำไม เพราะเป็นที่เปลี่ยวหรือไม่ เพราะมีเหยื่อเดินผ่านบ่อยในเวลานี้หรือไม่ วิเคราะห์แล้ว เหตุเกิดตรงป้ายรถเมล์นี้บ่อยในช่วงเวลากลางคืน เพราะป้ายรถเมล์นี้มืด เวลานี้ คนงานโรงงานนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เลิกงานมารอรถเมล์กันมาก คนร้ายจึงชอบมาก่อเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหาของตำรวจ จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไฟฟ้า มาติดตั้งแสงสว่างเพิ่ม เจ้าของโรงงาน ช่วยให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ออกมาจากหน้าโรงงาน ช่วยมายืนตรงป้ายรถเมล์ได้หรือไม่ สายตรวจมาตรวจตราในช่วงเวลาโรงงานเลิกได้หรือไม่ ช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมที่ป้องกันทรัพย์สินส่วนตัวได้หรือไม่ ครับ
ในบรรดา 10 ประเทศอาเซียน ผมเห็นว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามาก ในการทำงานระหว่างตำรวจกับชุมชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสิงคโปร์ ได้เรียนรู้และนำรูปแบบของการตำรวจชุมชน (Community Policing) มาจากประเทศญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น ในสิงคโปร์ ส่วนใหญ่คนสิงคโปร์จะพักอาศัยอยู่ในอาคารสูง การเดินทางไปทำงานนิยมขี่รถจักรยานไปจอดไว้ที่สถานีรถไฟฟ้า ทำให้สิงคโปร์มีคดีลักรถจักรยาน เกิดขึ้นมา ตำรวจสิงคโปร์ จึงค้นคิดอุปกรณ์ติดตั้งเพื่อล็อกรถจักรยาน แบบที่ไม่สามารถตัดออกได้ เพื่อเป็นการป้องกันคดีลักรถจักรยาน และร่วมมือกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำและติดตั้งตามสถานที่จอดรถจักรยาน นอกจากนี้ตำรวจสิงคโปร์ยังมีการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน ในหลายรูปแบบเพื่อป้องกันอาชญากรรม (ถ้าอยากรู้ ไว้คราวหน้าเล่าให้ฟังครับ...)
การทำงานของตำรวจในยุค 4.0 จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ “ตำรวจไทย 4.0” คือ ตำรวจที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเป็นตำรวจที่มีนวัตกรรมของตนเอง เพื่อทำงานให้น้อยลง (หรืออย่างน้อยเท่าเดิม) แต่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งความจำเป็นที่ตำรวจจะต้องทำงานร่วมกับประชาชน ชุมชน ภาคธุรกิจเอกชน เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ขอจบ "ตำรวจไทย 4.0" ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
ใครอยากเม้นท์อย่างไร ขอเชิญด้วยความยินดีนะครับ
ตำรวจมีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่แล้ว
วันนี้ จะลองพาแวะไปดูงานตำรวจของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น มาเลเซีย สักนิดครับ มาเลเซียให้ความสำคัญกับงานตำรวจ ให้เป็นส่วนสำคัญของการยกระดับให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.2009 (2552) มาเลเซียได้ประกาศโครงการเปลี่ยนผ่านด้านการปกครอง หรือ Government Transformation Programme (GTP)เพื่อนำประเทศก้าวพ้นกับดับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีรายได้สูง โดยประกาศว่าจะต้องทำให้เกิดผลลัพธ์ 6 ประการ คือ 1.การลดอาชญากรรม
2.การต่อสู้กับการคอรัปชั่น
3.ปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน
4.ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
5.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชนบท
6.ปรับปรุงการขนส่งสาธารณะในพื้นที่เมือง
น่าแปลกใจหรือเปล่าครับ ว่าเป้าหมายประการแรกของรัฐบาลมาเลเซียในการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง คือ การลดอาชญากรรม อันเป็นงานโดยตรงของตำรวจ ❗️การกำหนดเป้าหมายดังกล่าว มิได้นั่งเทียนเขียนกันนะครับ แต่มีการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนมากำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการครับ
ในปี 2013 ท่านผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซีย (Inspector General of Police) คือ IG Tan Sri Dato’ Sri Khalid bin Abu Bakar (ท่านนี้ ผมเคยไปรับประทานอาหารร่วมกันท่าน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย มาแล้วครับ 55 ไม่ได้โม้ครับ แต่นั่งคนละโต๊ะนะครับ) ได้ประการจุดเน้น 3 ประการ เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว
1.การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
2.ควบคุมและจำกัดระดับอาชญากรรม โดยการป้องกันและการสืบสวนที่มีคุณภาพ
3.ยกระดับด้านความซื่อสัตย์และมาตรฐานบุคลากรตำรวจมาเลเซีย
บทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน หรืออาจเรียกว่าเป็นคู่แข่งของเราอย่างมาเลเซีย แสดงให้เห็นว่างานในความรับผิดชอบของตำรวจ คือ การลดอาชญากรรม เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่จะทำให้ประเทศพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งประชากรมีรายได้สูง
สำหรับทิศทางในการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เมื่อรัฐบาลต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้มีนวัตกรรม เพื่อให้เราทำงานเหนื่อยน้อยลงแต่มีผลตอบแทนที่สูงขึ้น และสร้างความเชื่อมระหว่างภายในและนอกประเทศ เพื่อก้าวออกไปแข่งขันกันประเทศอื่นๆ ได้อย่างสมศักดิ์ศรี
ตามที่ฝรั่งเค้าประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ World Economic Forum เห็นว่าตำรวจเป็นสถาบันพื้นฐานที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการภาคธุรกิจเอกชน ว่าจะได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้รับความเป็นธรรมจากการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ได้รับการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา อาชญากรรมองค์การ เป็นต้น อาชญากรรมและการลักขโมย จะอยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คงไม่มีพ่อค้าคนไหน ขายของได้หากโจรเต็มบ้านเมืองใช่หรือไม่ครับ (อาจจะยกเว้นพ่อค้าอาวุธหรือเปล่า ไม่แน่ใจครับ)
ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นผ่านการเดินทาง การติดต่อผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้การกระทำผิดของอาชญากรก็สามารถเกิดขึ้นโดยไร้ข้อจำกัดด้านพรหมแดน เช่นกัน รวมทั้งความก้าวหน้าด้านวิทยาการ นวัตกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น อาจเป็นเครื่องมือหรือช่องทางให้เกิดการกระทำผิดในรูปแบบใหม่ ดังเช่นการที่อาชญากร สามารถเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อขโมยเงินในบัญชี ได้ไม่ว่าอยู่ส่วนใดของโลก
ดังนั้น การปรับตัวเป็น "ตำรวจไทย 4.0" จึงจำเป็นต้อง
1.สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน
คิดในทางกลับกันครับ เราเองจะเชื่อมั่นใครซักคน เราเชื่อมั่นเค้าจากอะไรสิ่งใดทำให้เราเชื่อมั่นคนซักหนึ่งคน
-พฤติกรรมในอดีต ถ้าคุณเคยมีกิ๊ก แม้ว่าจะเลิกกับกิ๊กไปแล้ว แฟนคุณจะเชื่อมั่นในตัวคุณมากน้อยขนาดไหนครับ นั่นคือพฤติกรรมในอดีต เหมือนกันครับ ตำรวจโรงพักนี้ เดือนก่อนจับคนร้ายชิงทรัพย์ได้ ผมเชื่อมั่นไปก่อนแล้วว่าคดีนี้ พี่ตำรวจจับคนร้ายให้ผมได้แน่ ดังนั้น การแถลงข่าวการจับกุมคนร้ายได้ ก็คือการสร้างความเชื่อมั่นวิธีหนึ่งครับ
-มาตรฐานการทำงาน ความเป็นมืออาชีพ เวลาท่านไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารร้านหนึ่ง เห็นแม่ครัว พ่อครัว แต่งตัวเรียบร้อยสะอาด สวมผ้าปิดปาก พนักงานเสริฟ ยกจานด้วยท่าทางทะมัดทะแมง กับอีกร้าน แม่ครัวพ่อครัว ทำไปกับข้าวไป เม้าทกันไป ไม่มีผ้าปิดปาก เด็กเสริฟแทบจะเอานิ้วจุ่มในชาม ท่านอยากกินร้านไหนครับ เช่นเดียวกันครับ เดินขึ้นโรงพัก เห็นตำรวจแต่งเครื่องแบบเรียบร้อย สายตรวจอุปกรณ์ครบ เกิดเหตุ สายตรวจเข้าขึง Police line สายสืบเข้าพื้นที่ห้อยบัตรแสดงตัว พฐ.ถึงที่เกิดเหตุสวมถุงมือเรียบร้อย ท่านจะเชื่อมั่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ครับ?
-ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อทำทุกอย่างครบถ้วน บางครั้งก็อาจเกิดการเข้าใจผิดจากประชาชนได้ครับ ตำรวจจึงจำเป็นต้องชี้แจงทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมาย กระบวนการขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการ
2.ลดอาชญากรรม
ประชาชนและสังคมไม่อาจเชื่อมั่นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ หากระดับของปัญหาอาชญากรรม และความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมยังสูงอยู่ อาชญากรรมไม่สามารถหมดไปได้จากสังคม แต่ควรจะอยู่ในระดับที่สังคมยอมรับได้ การลดอาชญากรรมเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร สำหรับไทยแลนด์ การลดอาชญากรรมคงไม่ใช่เพียงการลดการรับแจ้งความ ดังที่เป็นมาบ่อยๆ นะครับ และควรลดให้ได้จริงๆ นะครับ
ประชาชนและสังคมไม่อาจเชื่อมั่นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ หากระดับของปัญหาอาชญากรรม และความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมยังสูงอยู่ อาชญากรรมไม่สามารถหมดไปได้จากสังคม แต่ควรจะอยู่ในระดับที่สังคมยอมรับได้ การลดอาชญากรรมเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร สำหรับไทยแลนด์ การลดอาชญากรรมคงไม่ใช่เพียงการลดการรับแจ้งความ ดังที่เป็นมาบ่อยๆ นะครับ และควรลดให้ได้จริงๆ นะครับ
3.รักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยจากอาชญากรรมโดยทั่วไป และภัยคุกคามอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย เช่น การก่อการร้าย ความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยจากอาชญากรรมโดยทั่วไป และภัยคุกคามอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย เช่น การก่อการร้าย ความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
4.พร้อมรับมือในโลกไซเบอร์
ไทยแลนด์ 4.0 มาพร้อมกับนวัตกรรมทุกด้าน รวมทั้งโลกของดิจิทัล การธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเลกทรอนิกส์ หรือ e money การติดต่อซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต อาชญากรก็ย่อมเปลี่ยนการลักขโมยของในห้างสรรพสินค้า มาเป็นการหลอกลวงซื้อหรือขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต การเจาะเข้าระบบเพื่อขโมยเงินจากบัญชี เป็นต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคใหม่ จำเป็นต้องก้าวให้ทันอาชญากรยุค 4.0 เช่นกัน
5.นวัตกรรมป้องกันอาชญากรรมสมัยใหม่
เมื่อรัฐต้องการส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชน สร้างนวัตกรรมในด้านธุรกิจ การค้าขาย ตำรวจย่อมต้องการนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเช่นกัน คำว่านวัตกรรม ที่มาจาก Innovation มิได้จำกัดว่าต้องเป็นเครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัยที่จะนำมาใช้ป้องกันหรือติดตามจับกุมคนร้ายเพียงเท่านั้น อาจเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการ หรือนวัตกรรมด้านการปฏิบัติงาน ที่เป็นวิธีการใหม่ ที่สร้างสรรค์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีแต่ลงทุนลงแรงน้อยก็ได้นะครับ
ต่อไปอาจเห็น Drone ออกตรวจป้องกันอาชญากรรม และบินติดตามรถคนร้าย!
ต่อไปตำรวจอาจติดอุปกรณ์ GPS ที่ตัวผู้ต้องหาซึ่งได้รับการประกันตัว!
ต่อไปทรัพย์สินในบ้านอาจมีเครื่องบอกตำแหน่งติดไว้ทุกชิ้น ทำให้สามารถติดตามจับกุมตีนแมวที่เข้ามาขโมยของในบ้านได้อย่างรวดเร็ว
และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วแต่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตำรวจยุค 4.0
6.ใช้กำลังตำรวจน้อยลง
ตำรวจทุกประเทศ ล้วนมีกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างจำกัด การใช้กำลังตำรวจน้อยลง จำเป็นต้องปรับวิธีการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เราอาจต้องกลับมาทบทวนหรือทำการวิจัยกันว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ตรวจตราเพื่อหวังว่าจะสามารถป้องกันเหตุอาชญากรรมมิให้เกิดขึ้นได้ เป็นวิธีการที่ป้องกันมิให้เหตุเกิดได้จริงหรือไม่?
7.เป็นผู้นำในภูมิภาค
ไทยแลนด์ 4.0 ต้องการความเชื่อมโยง และขีดความสามารถในการแข่งขัน การไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ เราจึงจำเป็นต้องก้าวออกไปเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค งานตำรวจก็เช่นเดียวกันครับ การก้าวออกไป เพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับประเทศในภูมิภาค หรือนอกภูมิภาค ย่อมเป็นการยกระดับและเรียนรู้สิ่งใหม่มาใช้ในกิจการตำรวจภายใน และยังเป็นการแสดงศักยภาพไปสู่สังคมโลกอีกด้วย
สิ่งที่กล่าวไปข้างต้น คิดว่าเป็นแนวทางในระดับนโยบายที่จำเป็นในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์กรตำรวจ ในฐานะตำรวจเล็กๆ คนหนึ่ง จึงทำได้แค่นำเสนอแนวความคิด และนำเสนอในฐานะฝ่ายอำนวยการ เพื่อบรรจุไว้ในการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนเพื่อพ้องน้องพี่ในฐานะผู้บริหารระดับต้นและระดับกลาง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนหน่วยงานระดับสถานีตำรวจ ระดับกองบังคับการหรือตำรวจภูธรจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญยิ่ง ผมมีข้อเสนอเกี่ยวกับการบริหารของหน่วยงานของท่าน ที่จะสามารถบริหารจัดการหน่วยงานได้ แบบเน้นๆ คือ
1.การบริหารงานทั่วไป
การบริหารองค์กรในยุค 4.0 การบริหารที่ต้องคิดไปข้างหน้า ยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ แล้วบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์ เพราะยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ใครรู้เร็วกว่า แก้ปัญหาเร็วกว่า ปรับตัวเร็วกว่า ผู้นั้นชนะ ครับ
2.การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
มดงานที่สำคัญของงานตำรวจ คือ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และรองสารวัตร ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ต้องพบปะกับประชาชนตลอดเวลา ยุคโซเซียลมีเดีย ที่ประชาชนทุกคนพร้อมจะเป็นนักจัดรายการทีวี ด้วยการ LIVE ผ่าน Facebook ลูกน้องของเรา มีความพร้อมแค่ไหนที่จะแสดงบทบาทเป็นตำรวจผู้รักษากฎหมายที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเอาตัวรอดได้
การทำงานของตำรวจมดงาน จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจข้อกฎหมายให้มากขึ้น และที่สำคัญ ต้องมีทักษะในการชี้แจงต่อประชาชนที่ต้องติดต่อด้วย ในฐานะผู้บังคับบัญชา คงต้องให้ความสำคัญในการฝึกฝน ชี้แจงทำความเข้าใจและทบทวนความรู้ในข้อกฎหมาย ให้พร้อมที่จะต่อกรกับผู้ที่ต้องการท้าทายการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจครับ3.การบริหารและพัฒนาบุคลากร
นอกจากความรู้ข้อกฎหมายที่ต้องแม่นยำ แล้ว วิธีการพูดจาเอาตัวรอดก็เป็นสิ่งจำเป็น ปฏิภาณไหวพริบ ส่วนหนึ่งอาจมาจากพรสวรรค์ แต่ผู้ที่ไม่มีพรสวรรค์ สามารถฝึกฝน เตรียมการสำหรับแก้ไขปัญหาได้นะครับ วิชาทักษะการติดต่อสื่อสารกับประชาชน วิชาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง วิชาการเจรจาต่อรอง วิชาการฝึกความอดทนแต่ความกดดันจากประชาชน จำเป็นต้องถูกบรรจุไว้ในหลักสูตร นสต. นรต. หรือการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติการ และมีการฝึกฝนการปฏิบัติจริง
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่สามารถปรับปรุงหลักสูตรได้ทัน นักบริหารงานตำรวจระดับต้นและระดับกลาง อาจแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ด้วยการฝึกฝน ให้แนวทางการปฏิบัติเมื่อลูกน้องต้องเจอสถานการณ์ที่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหา การฝึกฝนการปฏิบัติในขณะปฏิบัติงาน (On the job training) ก็เป็นแนวทางอย่างหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ การฝึกประจำสัปดาห์ อาจปรับรูปแบบ นอกเหนือจากฝึกแถวชิด ฝึกยุทธวิธีการตรวจค้น จับกุม แล้ว ลองฝึกลูกน้องว่า เมื่อต้องไประงับเหตุผัวเมียกำลังตีกัน จะทำอย่างไร ระงับเหตุคนเมา จะทำอย่างไร เจอคนหัวหมอไม่ยอมให้ตรวจค้น จะทำอย่างไร ใช้คำพูดอย่างไร มีวิธีการระงับอารมณ์โกรธที่ถูกยั่วยวนอย่างไร? ถ้าเจ้านายเองคิดไม่ออก ก็ให้ลูกน้องช่วยกันคิดด้วยกันแหละครับ
4.การใช้เทคโนโลยี และ social media
โลกยุคปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยี ได้หลายแบบ เช่น
-เผยแพร่ผลงาน / สร้างภาพลักษณ์ที่ดี
-ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การป้องกันตัวเอง เส้นทางการจราจร
-ติดตามผู้กระทำผิด สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดผ่านอินเตอร์เน็ต
-ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของมวลชน งานด้านความมั่นคง
-ตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจ (เช่น กลุ่ม LINE)
-ดูแลความเป็นอยู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (55 แอบส่อง face ลูกน้องไงครับ..)
ฯลฯ
และอีกสารพัดวิธี ในฐานะนักบริหารงานตำรวจ ท่านจะใช้ social media ให้เกิดประโยชน์อย่างไร เป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์แล้วครับ 5.การทำงานร่วมกับชุมชน ประชาชน
หากเราเป็นตำรวจแบบยุคดั้งเดิม วิธีการทำงานของเราก็คือ การให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องการจับกุมคนร้ายให้ได้ การปราบปรามเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น เมื่อมีคนร้ายวิ่งราวทรัพย์ วิธีแก้ปัญหาแบบดั้งเดิม ก็คือ ไปจับคนร้ายมาเข้าคุกให้ได้ วิธีดังกล่าว แม้ว่าในวงการตำรวจถือว่าได้ผล ตำรวจที่จับคนร้ายได้มีผลงานดี แต่ปัญหาคนร้ายคนอื่นที่อาจจะไปวิ่งราวทรัพย์อีก ก็ยังไม่ได้รับแก้ไข
วิธีการทำงานตำรวจ ที่จะทำให้สังคมสงบสุข และเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั้งยืนในการควบคุมอาชญากรรม คือ ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุคนร้ายวิ่งราวทรัพย์รายใหม่เกิดขึ้น
แนวคิดแบบใหม่ ต้องการให้ตำรวจและชุมชน ทำงานร่วมกัน เสมือนเป็น“หุ้นส่วน”เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน (แก้ไขปัญหาแบบถาวร) เช่น เมื่อเกิดเหตุคนร้ายวิ่งราวทรัพย์ คนที่สืบสวนติดตามจับกุม ก็ทำงานไปตามเดิมแหละครับ จับได้ก็เอาเข้าคุกไป แต่หน้าที่ของตำรวจโรงพักนั้นยังไม่เสร็จสิ้น แต่จะต้องมาวิเคราะห์กันต่อว่า เหตุวิ่งราวคดีนี้หรือคดีอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ทำไม่เกิดบ่อย และเกิดบริเวณที่เดิม ทำไม ทำไม เพราะเป็นที่เปลี่ยวหรือไม่ เพราะมีเหยื่อเดินผ่านบ่อยในเวลานี้หรือไม่ วิเคราะห์แล้ว เหตุเกิดตรงป้ายรถเมล์นี้บ่อยในช่วงเวลากลางคืน เพราะป้ายรถเมล์นี้มืด เวลานี้ คนงานโรงงานนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เลิกงานมารอรถเมล์กันมาก คนร้ายจึงชอบมาก่อเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหาของตำรวจ จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไฟฟ้า มาติดตั้งแสงสว่างเพิ่ม เจ้าของโรงงาน ช่วยให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ออกมาจากหน้าโรงงาน ช่วยมายืนตรงป้ายรถเมล์ได้หรือไม่ สายตรวจมาตรวจตราในช่วงเวลาโรงงานเลิกได้หรือไม่ ช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมที่ป้องกันทรัพย์สินส่วนตัวได้หรือไม่ ครับ
ในบรรดา 10 ประเทศอาเซียน ผมเห็นว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามาก ในการทำงานระหว่างตำรวจกับชุมชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสิงคโปร์ ได้เรียนรู้และนำรูปแบบของการตำรวจชุมชน (Community Policing) มาจากประเทศญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น ในสิงคโปร์ ส่วนใหญ่คนสิงคโปร์จะพักอาศัยอยู่ในอาคารสูง การเดินทางไปทำงานนิยมขี่รถจักรยานไปจอดไว้ที่สถานีรถไฟฟ้า ทำให้สิงคโปร์มีคดีลักรถจักรยาน เกิดขึ้นมา ตำรวจสิงคโปร์ จึงค้นคิดอุปกรณ์ติดตั้งเพื่อล็อกรถจักรยาน แบบที่ไม่สามารถตัดออกได้ เพื่อเป็นการป้องกันคดีลักรถจักรยาน และร่วมมือกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำและติดตั้งตามสถานที่จอดรถจักรยาน นอกจากนี้ตำรวจสิงคโปร์ยังมีการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน ในหลายรูปแบบเพื่อป้องกันอาชญากรรม (ถ้าอยากรู้ ไว้คราวหน้าเล่าให้ฟังครับ...)
การทำงานของตำรวจในยุค 4.0 จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ “ตำรวจไทย 4.0” คือ ตำรวจที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเป็นตำรวจที่มีนวัตกรรมของตนเอง เพื่อทำงานให้น้อยลง (หรืออย่างน้อยเท่าเดิม) แต่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งความจำเป็นที่ตำรวจจะต้องทำงานร่วมกับประชาชน ชุมชน ภาคธุรกิจเอกชน เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ขอจบ "ตำรวจไทย 4.0" ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
ใครอยากเม้นท์อย่างไร ขอเชิญด้วยความยินดีนะครับ
ส่วนมาก ภาพลบของ ตร. มาจากสื่อ Social Media ผมว่าต้องมีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบที่คอยแก้ข่าว IO ให้ประชาชนทราบโดยเร็ว เพื่อความเชื่อมั่นของประชาชน และให้ข่าวสารที่เป็นจริง ที่ผ่านมา ผมว่ามันแก้ข่าวช้าเกินไป
ตอบลบขอขอบคุณสำหรับบทความดีดี
ตอบลบอ่านง่ายได้ความรู้
ตำรวจทุกคนควรอ่าน ต้องอ่านค่ะ
ไม่ได้แก้ข่าวช้าหรอก มีแต่ข่าวมีคำสั่งตั้งกรรมการ หรือสั่งให้ออกไปแล้วไวกว่าจรวด นี่คือหน้าที่ของโฆษก...
ตอบลบ